บทความสาระน่ารู้

ยามาดะ นางามาสะ ซามุไร อโยธยา แม้ไม่ได้เกิดแผ่นดินไทยแต่เลือดรักไทย

By June 29, 2018 No Comments
ยามาดะ นางามาสะ

ย้อนไปเมื่อ ปี 2553 มีภาพยนตร์ไทยเรื่องหนึ่ง กล่าวถึง นับรบหนุ่มชาวญี่ปุ่นที่มีบทบาทร่วมรบกับทหารไทยในสมัยอยุธยา  ร่วมปราบกบฐที่นครศรีธรรมราชและปัตตานี  จนต่อมาได้รับความดีความชอบ รับตำแหน่งออกญาเสนาภิมุข ตำแหน่งเทียบเท่าเจ้าพระยาในยุคนั้น  ทำให้คนไทยหลายท่านส่งสัย ว่าเขาคือใครทำไมถึงได้ร่วมรบกับทหารไทยอย่างกล้าหาญ เรื่องราวของท่านยังเป็นที่สนใจของชาวญี่ปุ่นด้วย

ยามาดะ นางามาสะ

Yamada2

 

 

 

 

 

โดยตำราเรียนประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นก็มีการบรรจุเรื่องราวของท่านให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา ถึงบุคคลยุคก่อนที่มีชื่อเสียงในต่างแดน และมีผู้ประพันธ์ประวัติของท่าน  “เรื่อง สู่แดนสยาม ยามาดะ นางามาสะ (Okoku e no Michi – Yamada Nagamasa) เขียนโดย เอนโด ชูซากุ (Endo Shusaku) แปลโดย บุษบา บรรจงมณี ลองไปหามาอ่านกันนะคะรับรองสนุกไม่แพ้ชมภาพยนตร์   ส่วนของไทย ก็เป็นที่กล่าวถึงในหนังสือประวัติศาสตร์เช่นกัน หรือในหนังสืออนุสรณ์ที่พิมพ์โดยสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงโตเกียวในปี 2007 ที่ฉลองครบรอบ 120 ปีความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น (สมัยใหม่) ก็ลงเรื่องนี้ไว้

ความสัมพันธ์ของไทยกับญี่ปุ่นมีมาช้านาน ตั้งแต่สมัยอยุธยา ไทยกับญี่ปุ่นมีการค้าขายกัน มีชาวญี่ปุ่นมาตั้งรกรากอยู่เมืองไทยจำนวนมาก จนเกิดมีชุมชนญี่ปุ่นหรือหมู่บ้านชาวญี่ปุ่นขึ้นริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาตอนใต้ และมีทหารอาสาหรือทหารรับจ้างชาวญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนเรศวร หนึ่งในทหารอาสานี้ มีชื่อหนึ่งที่ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ไทย นาม “ยามาดะ นางามาซะ”

ย้อนรอยประวัติของท่าน   เกิดที่นูมาซุ จังหวัดชิซูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น แต่เดิมเป็นอดีตทหารอารักขาขุนนางญี่ปุ่นที่เสียอำนาจ  จึงลงเรือจากญี่ปุ่น เดินทางสู่สยามช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17  มายังเมืองอโยธยา แม้ว่าจะเป็นชาวญี่ปุ่น แต่ก็รักเมืองไทยมาก เมื่อตอนอยู่เมืองไทยก็ได้เรียนรู้วิชามวยไทย (แบบโบราณ) ได้สมัครเข้าเป็นทหารอาสาญี่ปุ่น มีฝีมือในการรบ มีความก้าวหน้าในหน้าที่   ในรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรรม ยามาดะ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าหมู่บ้านญี่ปุ่น และเป็นพ่อค้าคนกลางกับชาวต่างชาติที่ค้าขายกับไทยอีกด้วย ทำให้ไทยได้ประโยชน์ทางการค้าเป็นอย่างมาก ยามาดะรับราชการกับกรุงศรีอยุธยาจนมีความดีความชอบจนได้รับตำแหน่งถึง “ออกญาเสนาภิมุข” ” มีหน้าที่ในการคุมกองอาสาญี่ปุ่น มีทหารในบังคับบัญชาประมาณ 800 คน  ช่วยราชการปราบกบฎอยู่หลายครั้งรวมถึงปราบกบฎที่นครศรีธรรมราช ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง จนทำให้ถูกล้อมจับและถูกเนรเทศจากกรุงศรีอยุธยาไปเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ต่อมาได้แต่งงานกับภรรยาชาวไทยนามว่า โอนิน มีบุตรชายลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่น  ได้ส่งบุตรชายและคณะไปเรียกส่วยภาษีจากเมืองปัตตานี แต่ได้รับการต่อต้านจากจากชาวต่างชาติในเมืองปัตตานีเช่น ฮอลันดา โปรตุเกส และอังกฤษ ที่ไม่พอใจที่ชาวญี่ปุ่นมีอิทธิพลในแถบนั้น ยามาดะ จึงยกกองทัพไปทำศึกกับปัตตานีจนได้รับบาดเจ็บถูกฟันที่ขา
และกลับมารักษาตัวที่เมืองนครศรีธรรมราช ขณะที่การรบยังไม่เสร็จสิ้น กาลต่อมามีผู้คิดร้ายได้ลอบวางยาพิษ จนทำให้ ยามาดะ นางามาซะ ถึงแก่กรรมในที่สุด

อ่านอัตชีวประวัติประวัติของท่านมาแล้วเหมือนกับดูซีรี่ยส์ญี่ปุ่นเลยนะคะ ปัจจุบันเรายังตามรอยอดีต”ออกญาเสนาภิมุข” สายเลือดซามุไรผู้นี้ได้ที่ หมู่บ้านญี่ปุ่น (Japanese Village) ที่ตำบลเกาะเรียน อำเภอสำเภอล่ม จังหวัดอยุธยา  จัดตั้งขึ้นโดย สมาคมไทย – ญี่ปุ่น ร่วมมือกับ นักวิชาการไทย และนักวิชาการญี่ปุ่น เพื่อรำลึกถึงชาวญี่ปุ่นผู้มีบทบาทสำคัญ และมีความจงรักภักดีต่อราชสำนักสมัยกรุงศรีอยุธยา นาม “ยามาดะ นางามาซะ”

ขอขอบคุณ Credit  ข้อมูล Wikipedia tWikipedia thai

Leave a Reply