บทความสาระน่ารู้

ญี่ปุ่นขึ้นภาษี และผลกระทบต่อนักท่องเที่ยว

By October 9, 2019 No Comments

ในวันที่ 1 ตุลาคม 2019 ญี่ปุ่นได้ขึ้นภาษีการบริโภค หรือ VAT จาก 8% เป็น10%  ร้านค้าหลายแห่งอลหม่านกับอัตราภาษีที่แตกต่างกันสำหรับสินค้าแต่ละชนิด ส่วนนักท่องเที่ยวจะต้องจ่ายค่าอาหารและค่าเดินทางแพงขึ้น
 

สิ่งต่อไปนี้ยังคิดภาษีที่ 8%
>สินค้าที่ซื้อจากตลาดสด หรือ ซุปเปอร์มาร์เก็ต สินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่ม ได้แก่ ข้าว, ผัก, เนื้อสัตว์, เนื้อปลา, ผลิตภัณฑ์นม, ขนมปัง, ผลิตภัณฑ์ขนม, น้ำดื่ม, น้ำแร่, เบียร์ที่ไม่มีแอลกอฮอล์ และเครื่องปรุงที่มีส่วนผสมของเหล้าหวาน, มิริน (ที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ต่ำกว่า 1%)
>สินค้าอาหารและเครื่องดื่ม (non-alcohol) ที่ซื้อกลับมากินที่บ้าน (Take out)
>สินค้าที่เป็นอาหารบรรจุมาพร้อมของเล่นที่มูลค่าไม่เกิน 10,000 เยน โดยที่มูลค่าของอาหารเพียงอย่างเดียวต้องเป็น 2 ใน 3 หรือมากกว่าของราคาทั้งหมด
>อาหารและเครื่องดื่ม (non-alcohol) ที่ซื้อภายในโรงภาพยนตร์, สวนสนุก และสนามกีฬา แล้วนำมาบริโภคยังที่นั่งนอกร้านอาหาร (ที่นั่งพักในสวนสนุก) หรือที่นั่งชมกีฬาของตัวเอง
>หนังสือพิมพ์ที่รับทุกวัน (แบบเดลิเวอรี่)
>ขนมหรือเครื่องดื่มที่มีอยู่ในตู้เย็นภายในห้องในโรงแรม
>การสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่เพื่อมาส่งที่บ้าน
>การจ้างบริการจัดเลี้ยงเพื่อไปเลี้ยงอาหารที่บ้านพักคนชรา
.
.
สิ่งต่อไปนี้ขึ้นภาษีเป็น 10%
>เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์
>เครื่องสำอาง ยารักษาโรค
>การไปกินอาหารในร้านอาหารนอกบ้าน
>การซื้ออาหาร เครื่องดื่มและทานภายในร้านสะดวกซื้อ
>หนังสือพิมพ์ที่ซื้อยังร้านหนังสือ หรือร้านสะดวกซื้อ
>สินค้าที่ขายเป็นเซตมาพร้อมกับเครื่องดื่ม
>อาหารที่สั่งแบบ Room service ภายในโรงแรม
>การจ้างบริการจัดเลี้ยงให้มาจัดเลี้ยงนอกสถานที่ (Catering)

 

ผลกระทบต่อนักท่องเที่ยว 

สำหรับนักท่องเที่ยวจะมีผลกระทบบ้างก็คือ ค่าอาหารที่กินตามร้านอาหารต่าง ๆ สินค้าที่ซื้อภายในร้านสะดวกซื้อ  ค่าโดยสารรถไฟซึ่งทาง JR ก็ประกาศจะขึ้นค่าโดยสารเช่นกัน

รัฐบาลญี่ปุ่นระบุว่า จำเป็นต้องขึ้นภาษีเพื่อให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการสังคมที่เพิ่มมากขึ้น และชำระหนี้สาธารณะจำนวนมหาศาล
คาดว่าการขึ้นภาษีครั้งนี้จะทำให้รัฐบาลมีรายได้เพิ่มขึ้นราว 5.7 ล้านล้านเยน โดยครึ่งหนึ่งจะนำไปสนับสนุนการศึกษาก่อนวัยเรียน และการดูแลเด็กเล็ก รวมถึงลดค่าเล่าเรียนจนถึงระดับมหาวิทยาลัย ส่วนค่าเหลือจะใช้ในระบบประกันสุขภาพ และชำระหนี้สาธารณะ.

Leave a Reply